วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

22.ภาคผนวก (Appendix)


ภาคผนวก (Appendix)

                พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

                พรศรี ศรีอัษฎาพรยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง

                เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง
                
            สรุป   
             ภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง


ที่มา :
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :
ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร,
พรศรี ศรีอัษฎาพรยุวดี วัฒนานนท์. (2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ :
สามเจริญพานิช.
เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

21. เอกสารอ้างอิง (References)


เอกสารอ้างอิง (References)

                 เก่ง   ภูวนัยhttp://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวว่า  เอกสารอ้างอิง  คือ  ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือAPA(American Psychological Association)

            ปฐมาภรณ์  วงค์ชนะ.  http://wtoy9996.blogspot.com/ กล่าวว่า เอกสารอ้างอิง   คือ  การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม

                เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547)  กล่าวว่า  เอกสารอ้างอิง คือ รายการที่แสดงรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ บุคคล และวัสดุต่างๆที่นำมาประกอบการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ก่อน รายการบรรณานุกรม ให้มีหน้าบอกตอนบรรณานุกรม
                
                สรุป
                เอกสารอ้างอิง  คือ  ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก  และการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม


ที่มา
เก่ง   ภูวนัยhttp://blog.eduzones.com/jipatar/85921 สืบค้นเมื่อวันที่  15 พฤศจิกายน  2555
ปฐมาภรณ์  วงค์ชนะ.  http://wtoy9996.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อวันที่  15 พฤศจิกายน  2555
เทียนฉาย กีระนันทน์.   (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

20.งบประมาณ (Budget)


งบประมาณ (Budget)

                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
                1 . เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
                3 . ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                4 .ค่าครุภัณฑ์
                5 . ค่าประมวลผลข้อมูล
                6 . ค่าพิมพ์รายงาน
                7 .ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
โครงการแล้ว
                8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
                
               สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539 : 201 – 249 )  ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี  5 ปี  หรือ 10  ปี  หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น  เช่น  งบประมาณรายเดือน 3 เดือน  6  เดือน  หรือ 1 ปี  
                
                อรชร  โพธิ ( 2545 : 210 ) ได้กล่าวไว้ว่า  งบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ

                สรุป  
                งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้

ที่มา :
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่  14 ธันวาคม  2555   
สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2539). แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงการบริหาร 
กรุงเทพ : สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อรชร  โพธิสุข.  (2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ.  กรุงเทพ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.



19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)


การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)

              เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


                พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง 


              ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
                  1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                  2.   กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                        2.1  ขั้นเตรียมการ
                              - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                              - ติดต่อผู้นำชุมชน
                              - การเตรียมชุมชน
                              - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                              - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                              - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                              - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                              - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                         2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                              - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                              - ขั้นการเขียนรายงาน
              3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
              4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
          ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
          ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
          ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
          ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
            จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง


           สรุป 
          การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน


ที่มา :  
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหารพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : 
รงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
 พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 .
กรุงเทพมหานครสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
 ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัยกรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข
              

             สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม ( 2538:6 ) ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
           1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
           2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
           3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
           4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
           5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
                 แนวทางการแก้ไข
                1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

                
            ภิรมย์ กมลรัตนกุล ( 2531:8 ) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
                แนวทางการแก้ไข
               นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

                สุวิมล ว่องวาณิช ( 2544 ) ได้กล่าวไว้ว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
                แนวทางการแก้ไข
                อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว


                สรุป 
                การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน

ที่มา :
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2538). หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน. 
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.  กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ หอสมุดกลาง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544).  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย. 

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected benefits & Application)


17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected benefits & Application)

                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact)โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง


              พจน์ สะเพียรชัย (2516) ได้กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ

               
                รวีวรรณ ชินะตระกลู (2540 : 79) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ

                 สรุป
                 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย ควรให้ประโยชน์ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร  เป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

ที่มา :
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่  20  ธันวาคม  2555   
 พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา กรุงเทพฯ:
วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.
 รวีวรรณ ชินะตระกลู.  (2540). วิจัยทางการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย

   นิรันดร์   จุลทรัพย์ (2552:293) ได้กล่าวไว้ว่า  ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้ เช่น ผู้วิจัยสรุปว่า เจตคติต่อพฤติกรรมฯ เป็น สาเหตุหลักของ พฤติกรรมอนุรักษ์น้ำ ข้อจำกัดของงานวิจัยอยู่ที่ ผลการวิจัยนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับเด็กวัยรุ่นเพศชาย(ในขอบเขตได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมด) ทั้งนี้เนื่องจากในการสุ่มตัวอย่างสุ่มได้กลุ่มเพศชายน้อย อาจมีผลต่อการทดสอบนัยสำคัญ และการประมาณค่าขนาดของความสัมพันธ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการเก็บตัวอย่างในทั้ง 2 เพศให้เพียงพอ และทำการเปรียบเทียบขนาดความสัมพันธ์ด้วยหรือข้อจำกัดอาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต หรือ ข้อตกลงเบื้องต้น เลยก็ได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนักวิจัยก็ได้ เช่น การเก็บข้อมูลช่วงยาว มีตัวอย่างขาดหายไป 30% จากนโยบายของทางราชการ ผู้วิจัยก็จำเป็นต้องเขียนว่าการหายไปนี้จะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร
                

              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (2545:222)   ได้กล่าวไว้ว่า การระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้   หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี  ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง  มีสาเหตุมาจากอะไร  สามารถแก้ไขได้อย่างไร  หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร   โดยปกติในการนำเสนอเค้าโครงการวิจัย ( proposal ) จะไม่ระบุข้อจำกัดในการวิจัย  เพราะยังไม่ทราบแต่ถ้าทราบจะต้องแก้ไข  ไม่ไห้มี
            ข้อจำกัดบางอย่างในทางการวิจัยไม่สามารถรับได้   เช่น กลุ่มตัวอย่าง  ไม่ตั้งใจตอบ  หรือไม่ตั้งใจให้ข้อมูล  ทำให้ข้อมูลในการวิจัยไม่ค่อยน่าเชื่อถือ  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือ    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือตลอดทั้งเล่ม
            โดยปกติในการทำวิจัยมักจะระบุข้อจำกัดในการวิจัยหลายประการ  เช่น  ข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย  ข้อจำกัดในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการวิจัย   ข้อจำกัด ในเรื่องสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล   ตลอดทั้งข้อจำกัดในเรื่องของเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย  ซึ่งข้อจำกัดนั้นสามารถแก้ไขได้ก่อนทำการวิจัย

                จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย

                สรุป 
    ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้ เช่น ผู้วิจัยสรุปว่า เจตคติต่อพฤติกรรมฯ เป็น สาเหตุหลักของ พฤติกรรมอนุรักษ์น้ำ ข้อจำกัดของงานวิจัยอยู่ที่ ผลการวิจัยนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับเด็กวัยรุ่นเพศชาย(ในขอบเขตได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมด) ทั้งนี้เนื่องจากในการสุ่มตัวอย่างสุ่มได้กลุ่มเพศชายน้อย อาจมีผลต่อการทดสอบนัยสำคัญ และการประมาณค่าขนาดของความสัมพันธ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการเก็บตัวอย่างในทั้ง 2 เพศให้เพียงพอ และทำการเปรียบเทียบขนาดความสัมพันธ์ด้วยหรือข้อจำกัดอาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต หรือ ข้อตกลงเบื้องต้น เลยก็ได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนักวิจัยก็ได้ เช่น การเก็บข้อมูลช่วงยาว มีตัวอย่างขาดหายไป 30% จากนโยบายของทางราชการ ผู้วิจัยก็จำเป็นต้องเขียนว่าการหายไปนี้จะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร


ที่มา :
นิรันดร์  จุลทรัพย์. (2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.  (พิมพ์ครั้งที่2).  นำศิลป์โฆษณา.
 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่1).
นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
 จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  (2552). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่1).  
กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.

15. ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations) องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่นฃ 1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว) 2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย 3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า 1.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง 1) การรวบรวมข้อมูลวิจัยสส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะไร้อำนาจ เช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (2) ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล (3) การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับ ความอับอายหรือต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผย แพร่ต่อสาธารณชน (4) ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้ (5) การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล 2) การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล ทั้งนี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ความเสี่ยงที่อาจมี การให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ ชี้ให้เห็นถึงระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็นสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็น ความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ 3) การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตนอย่างไร 4) การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปํญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับอันตราย 5) การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย 2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย 1) การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศ การเหยียดผิว 2) การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง 3) การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิงข้อเท็จจริงต่าง ๆ 4) การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย เช่น การปลอมตัว การปกปิดวิธีวิจัย 5) การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ 6) การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น 7) การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม 3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย 1) ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างในการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ 2) การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ 4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้ 1.การตั้งชื่อเรื่อง - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย 2.การขอรับทุนสนับสนุน - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ - การติดสินบนผู้พิจารณา - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน - ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้ - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน 3.งบประมาณการวิจัย - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง 4.การทำวิจัย - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ) - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย 5.การเขียนรายงานการวิจัย - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน 6.การส่งผลงานวิจัย - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ สรุป ปัญหาทางจริยธรรม 1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ การให้สิ่งล่อใจเป็นสินจ้างรางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูล และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล 2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔กต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์ 3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ 4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธการให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย เอกสารอ้างอิง องอาจ นัยพัฒน์.วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา,2548. คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.สถิติและการวิจัยสังคมศาสตร์.นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545. พิชิต ฤทธิ์จรูญ.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร,2544


15. ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)

            องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า  จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย   ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่นฃ
                1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
                2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
                3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

           
      
คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า
                1.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง
                  1) การรวบรวมข้อมูลวิจัยสส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะไร้อำนาจ เช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ
                (1) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
                (2) ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล
                (3) การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับ ความอับอายหรือต้องมีความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผย แพร่ต่อสาธารณชน
                (4) ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้
                (5) การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล
                 2) การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล ทั้งนี้แบบฟอร์มดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ความเสี่ยงที่อาจมี การให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ ชี้ให้เห็นถึงระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็นสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็น ความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ
                                3) การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตนอย่างไร
                                4) การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปํญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับอันตราย
                                5) การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย
                2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
                1) การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติทางเพศ การเหยียดผิว
                2) การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
             3) การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
            4) การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย เช่น การปลอมตัว การปกปิดวิธีวิจัย
           5) การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
           6) การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
        7) การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม
                3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
                 1) ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างในการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
                2) การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ
                4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
             สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม

               
          พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) ได้กล่าวไว้ว่า  ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
                1.การตั้งชื่อเรื่อง
                                - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
                                - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                                - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
                2.การขอรับทุนสนับสนุน
                                - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
                   - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
                                - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
                                - การติดสินบนผู้พิจารณา
                                - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
                                - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
                                - ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
                                - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
                                - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
                3.งบประมาณการวิจัย
                                - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
                                - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
                - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
                4.การทำวิจัย
                                - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
                                - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
                                - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
                                - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
                                - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
                                - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
                                - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
                                - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
                5.การเขียนรายงานการวิจัย
                  - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                  - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
                 - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
                 - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
                6.การส่งผลงานวิจัย
                - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
                - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ
                
              สรุป
              ปัญหาทางจริยธรรม
                1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ การให้สิ่งล่อใจเป็นสินจ้างรางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูล และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล
                2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔กต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์
                3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ
                4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธการให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย

ที่มา :
องอาจ นัยพัฒน์.(2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์
และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
 คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (2545).
สถิติและการวิจัยสังคมศาสตร์. นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏพระนคร.