วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

1. ชื่อเรื่อง (the title)


ชื่อเรื่อง (the title)

        http://blog.eduzones.com   กล่าวว่าชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
        นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
        1.1    ความสนใจของผู้วิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
        1.2    ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ 
                  โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
        1.3    เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
                  ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลา
        1.4    ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว   ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
                  ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย


             พวงรัตน์ ทวีรัตน์.  (2540) กล่าวว่าชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”     

             http://www.blog.prachyanun.com     กล่าวว่าสำหรับวิธีในการใช้กำหนดตั้งชื่องานวิจัยแบบง่ายๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการที่นำเสนอชื่อเรื่องงานวิจัย ดังนี้
1.พยายามกำหนดชื่องานวิจัยให้ง่าย สั้น กระชับและชัดเจน
2.ควรกำหนดขอบเขตของประชากรให้อยู่ในชื่อเรื่อง
3.ชือเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
4.พยายามให้ชื่องานวิจัย ควรมีคำศัพท์(Wording)ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้ง่าย หากมี Key Search (TAGS) จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ
สำหรับใช้เทคนิคง่าย ๆ ที่ผมมักจะแนะนำให้นักศึกษาใช้ คือ ให้นักศึกษาลองตั้งคำถาม ประเภท ใคร(Who)อะไร(What)ที่ไหน(Where) เมื่อไหร่(When) และอย่างไร (How) ให้มาลองเรียงร้อยต่อสานต่อกัน และพยายามอ่านดูและลองให้คนหลายๆ คนอ่านว่าเข้าใจอย่างไร

ที่สำคัญ ชื่อของงานวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก เพราะถือเสมือนด่านแรกที่เราต้องการแนะนำผลงานให้คนทั่วไปจะรู้จักกับผลงานของเรา ถ้าสามารถร้องเรียงภาชื่อได้ชัดเจนสวยงาม ย่อมเป็นการเชิญชวนให้คนทั่วไปสนใจในงานวิจัยเรามากขึ้น เพราะบางครั้งเป็นที่น่าเสียดายที่พบว่างานวิจัยดีๆ หลายๆงาน ที่ไม่มีใครได้รับทราบ เพราะชื่อไม่ได้สื่อในเนื้องาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรให้ความสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม


        สรุป.

              ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย

ที่สำคัญ ชื่อของงานวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก เพราะถือเสมือนด่านแรกที่เราต้องการแนะนำผลงานให้คนทั่วไปจะรู้จักกับผลงานของเรา ถ้าสามารถร้องเรียงภาชื่อได้ชัดเจนสวยงาม ย่อมเป็นการเชิญชวนให้คนทั่วไปสนใจในงานวิจัยเรามากขึ้น เพราะบางครั้งเป็นที่น่าเสียดายที่พบว่างานวิจัยดีๆ หลายๆงาน ที่ไม่มีใครได้รับทราบ เพราะชื่อไม่ได้สื่อในเนื้องาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรให้ความสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

            ที่มา
พวงรัตน์ ทวีรัตน์.  (2540).  วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
            http://blog.eduzones.com      สืบค้นเมื่อ วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 
           http://www.blog.prachyanun.com  สืบค้นเมื่อ วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น