วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)



ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)

             http://blog.eduzones.com/jipatar/859le8y21   กล่าวว่าความเป็นมาและความสำคัญอาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

            http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202    กล่าวว่าการเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย

             ฉายพรรณ  สนิทนาน.(2546) กล่าวว่า     แนวในการเขียนแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
                 1.1 เริ่มจากจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย 
                 1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย
                 1.3 แนวทาง หรือ หลักการที่จะแก้ปัญหานั้น
                 2. ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยินเยอ และนอกเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้
                 3. มีข้อมูลอ้างอิง เพื่อความน่าเชื่อถือ การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย มีเหตุมีผล
                 4. มีความต่อเนื่องกัน ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน ห้ามเขียนวกไปวนมา โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ 1
                 5. สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

          สรุป  
    การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างเหล่านนี้คือ
1) ทันสมัย
      2) ทันต่อเหตุการณ์
      3) เป็นสากล
      4) ท้าทาย
      5) สร้างองค์ความรู้ใหม่  หรือสร้างสาระสำคัญของความรู้ทางวิชาการใหม่
      6) เป็นความคิดริเริ่มใหม่
      7) เท่าที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนหรือมีแต่น้อยมาก 
      8) มีผู้ศึกษาไว้พอสมควรแต่กระจัดกระจายและยังไม่เป็น ระบบ ผู้ศึกษาจึงนำมาประมวล
      9) ช่วยเพิ่มความรู้ด้านวิชาการให้มากขึ้นอย่างชัดเจน
    10) เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการหรือสังคมส่วนรวม เช่น ประเทศชาติ ชุมชน และ/หรือ ประชาชน
    11) สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง     
รวมทั้งแสดงเหตุผลให้เห็นว่าเรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญและจำเป็น หรือจูงใจอย่างมากจนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ศึกษาหรือคณะผู้ศึกษาสนใจและได้ตัดสินใจเลือกศึกษาเรื่องนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นความพยายามของผู้ศึกษาที่จะเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าเรื่องที่ศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ น่าสนใจ และต้องการอ่านต้องการติดตาม

ที่มา : 
ฉายพรรณ  สนิทนาน.(2546) .การวิจัยทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://blog.eduzones.com/jipatar/859le8y21    สืบค้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 4 พฤศจิกายน  
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202  สืบค้นเมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน  
  






     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น