วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis)


  สมมติฐาน (Hypothesis)


                 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวว่าการตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
        นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง


                  http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html  กล่าวว่าสมมติฐาน (Hypothesis) สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้
หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง


             http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=772  กล่าวว่าความหมายของสมมุติฐานในการวิจัย : สิ่งที่คาดคะเนขึ้นอย่างมีเหตุผลว่าจะเป็นคำตอบของการวิจัย  สมมติฐานการวิจัยนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าได้รับการพิสูจน์จากข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าเป็นความจริงหรือตรงกับข้อเท็จจริง สมมติฐานนั้นก็จะกลายเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง
ความสำคัญของสมมุติฐานในการวิจัย
- เป็นแนวทางในการกำกับการวิจัย ให้มีความชัดเจน ไม่หลง
ทิศทาง
- ช่วยในการออกแบบการวิจัย
การวัดตัวแปร การสร้างเครื่องมือ
การเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ช่วยชี้แนวทางในการแปลผล สรุปผล
- ช่วยในการทดสอบทฤษฎีหรือการสร้างทฤษฎี
ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดสมมุติฐาน
การวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดทฤษฎี
งานวิจัยที่ผ่านมา
การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (conceptual framework)
การกำหนดตัวแปรและนิยามตัวแปรในการวิจัย
กำหนดสมมุติฐานการวิจัย
การทดสอบสมมุติฐานการวิจัย


            สรุป
           สมมติฐาน (Hypothesis) สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้
หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง

ที่มา 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  สืบค้นเมื่อวันที่  9 พฤศจิกายน 2555

http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=772      สืบค้นเมื่อ วันที่ พฤศจิกายน 2555 
http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html   สืบค้นเมื่อวันที่  9 พฤศจิกายน 2555



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น