วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

10.การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในงานวิจัย ( Operational Definition)


การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในงานวิจัย ( Operational Definition)

          ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:90) กล่าวว่า  เป็นการอธิบายคำ หรือข้อความที่สำคัญในงานวิจัย  เพื่อให้ผู้ศึกษางานวิจัยนั้น ๆ มีความเข้าใจ ในสิ่งที่ผู้วิจัย ดำเนินการวิจัย ว่า ผู้วิจัยไปดำเนินการหรือเก็บรวบรวมข้อมูล กับใคร  เนื้อหาอะไร สถานที่ไหน (ไม่ใช่เป็นการนิยามศัพท์ตามพจนานุกรม)

          ไพศาล  วรคำ(2552:191)   กล่าวว่า เป็นการเขียนอภิปราบความหมายของคำที่นักวิจัยนำมาใช้ในงานวิจัยและต้องการให้ผู้อ่าน ๆ งานวิจัยมีความเข้าใจตรงกันกับนักวิจัยและมีความสอดคล้องตามหลักวิชาการ เป็นการเขียนให้ชัดเจนว่าคำนั้น หรือวลีนั้นหมายถึงอะไร สามารถสังเกตหรือวัดได้อย่างไร และสามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างเดียวกัน โดยความหายของคำศัพท์ที่นิยมจะได้มาจากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นความหมายของผู้วิจัยได้ศึกษา

         รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2550:58)กล่าวว่า ผู้วิจัยอาจมีคำเฉาะที่ใช้ในงานวิจัย เนื่องจากคำที่ใช้อาจมีความหมายคลุมเครือ หรือตีความได้หลายความหมาย จึงจำเป็นต้องใช้คำจำกัดความไว้เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจได้ตรงกับผู้วิจัย และสำหรับคำที่เป็นศัพท์ทางวิชาการที่ไม่ค่อยได้ใช้กันแพร่หลายควรให้คำจำกัดความไว้เช่นกัน ถึงแม้ว่าผู้วิจัยสามรถกำหนดของเขตของความหมายของคำแต่ก็ไม่ควรให้ความหมายที่แตกต่าง มาไปจากความหมายโดยทั่วไปของคำนั้น เนื่องจากอาจจะทำให้ผู้อ่านตีความหมายของผู้วิจัยผิดพลาดได้


      สรุป  
       เป็นการให้ความหมายของคำที่สำคัญที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเห็นที่สอดคล้องเข้าใจตรงกันสามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดีและลอดคล้องตามหลักวิชาการและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายเดิมมากนักเพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน โดยความหมายนั้นจะได้มาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นความหมายที่ผู้วิจัยได้ศึกษา


ที่มา :
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น