วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย

   นิรันดร์   จุลทรัพย์ (2552:293) ได้กล่าวไว้ว่า  ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้ เช่น ผู้วิจัยสรุปว่า เจตคติต่อพฤติกรรมฯ เป็น สาเหตุหลักของ พฤติกรรมอนุรักษ์น้ำ ข้อจำกัดของงานวิจัยอยู่ที่ ผลการวิจัยนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับเด็กวัยรุ่นเพศชาย(ในขอบเขตได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมด) ทั้งนี้เนื่องจากในการสุ่มตัวอย่างสุ่มได้กลุ่มเพศชายน้อย อาจมีผลต่อการทดสอบนัยสำคัญ และการประมาณค่าขนาดของความสัมพันธ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการเก็บตัวอย่างในทั้ง 2 เพศให้เพียงพอ และทำการเปรียบเทียบขนาดความสัมพันธ์ด้วยหรือข้อจำกัดอาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต หรือ ข้อตกลงเบื้องต้น เลยก็ได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนักวิจัยก็ได้ เช่น การเก็บข้อมูลช่วงยาว มีตัวอย่างขาดหายไป 30% จากนโยบายของทางราชการ ผู้วิจัยก็จำเป็นต้องเขียนว่าการหายไปนี้จะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร
                

              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (2545:222)   ได้กล่าวไว้ว่า การระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้   หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี  ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง  มีสาเหตุมาจากอะไร  สามารถแก้ไขได้อย่างไร  หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร   โดยปกติในการนำเสนอเค้าโครงการวิจัย ( proposal ) จะไม่ระบุข้อจำกัดในการวิจัย  เพราะยังไม่ทราบแต่ถ้าทราบจะต้องแก้ไข  ไม่ไห้มี
            ข้อจำกัดบางอย่างในทางการวิจัยไม่สามารถรับได้   เช่น กลุ่มตัวอย่าง  ไม่ตั้งใจตอบ  หรือไม่ตั้งใจให้ข้อมูล  ทำให้ข้อมูลในการวิจัยไม่ค่อยน่าเชื่อถือ  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือ    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือตลอดทั้งเล่ม
            โดยปกติในการทำวิจัยมักจะระบุข้อจำกัดในการวิจัยหลายประการ  เช่น  ข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย  ข้อจำกัดในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการวิจัย   ข้อจำกัด ในเรื่องสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล   ตลอดทั้งข้อจำกัดในเรื่องของเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย  ซึ่งข้อจำกัดนั้นสามารถแก้ไขได้ก่อนทำการวิจัย

                จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย

                สรุป 
    ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้ เช่น ผู้วิจัยสรุปว่า เจตคติต่อพฤติกรรมฯ เป็น สาเหตุหลักของ พฤติกรรมอนุรักษ์น้ำ ข้อจำกัดของงานวิจัยอยู่ที่ ผลการวิจัยนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับเด็กวัยรุ่นเพศชาย(ในขอบเขตได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมด) ทั้งนี้เนื่องจากในการสุ่มตัวอย่างสุ่มได้กลุ่มเพศชายน้อย อาจมีผลต่อการทดสอบนัยสำคัญ และการประมาณค่าขนาดของความสัมพันธ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการเก็บตัวอย่างในทั้ง 2 เพศให้เพียงพอ และทำการเปรียบเทียบขนาดความสัมพันธ์ด้วยหรือข้อจำกัดอาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต หรือ ข้อตกลงเบื้องต้น เลยก็ได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนักวิจัยก็ได้ เช่น การเก็บข้อมูลช่วงยาว มีตัวอย่างขาดหายไป 30% จากนโยบายของทางราชการ ผู้วิจัยก็จำเป็นต้องเขียนว่าการหายไปนี้จะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร


ที่มา :
นิรันดร์  จุลทรัพย์. (2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.  (พิมพ์ครั้งที่2).  นำศิลป์โฆษณา.
 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่1).
นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
 จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  (2552). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่1).  
กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น